ประเภทของคอมพิวเตอร์
เราสามารถแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ออกตามขนาดและประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน
ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในด้านการคำนวณและประมวลผลสูงสุด มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ มักนำไปใช้ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ เช่น งานวิจัยหรืองานค้นคว้าทดลองขององค์กรใหญ่ๆ ระดับประเทศ เป็นต้น
![]() |
ภาพซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ |
2. คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) ลักษณะเป็นตู้สูงใหญ่ ตั้งวางอยู่ในห้องปรับอากาศโดยเฉพาะมักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลต่างๆ กับผู้ใช้จำนวนมาก เช่น ธนาคาร, ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) , หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
![]() |
ภาพเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ |
3. คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดกลางและเล็ก
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) มีทั้งรูปทรงแบบแบนๆ ที่เรียกว่า U ใช้ใส่ในตู้ Rack กับรูปทรงสูงๆ ที่เรียกว่า Tower ซึ่งคล้ายกับคอมพิวเตอร์ตามบ้านแต่อาจมีน้ำหนักและขนาดที่ใหญ่กว่า มักนำไปใช้ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล และบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในองค์กรทั้งขนาดกลางและเล็ก โดยคนในองค์กรต่างๆมักนิยมเรียกเจ้าเครื่องนี้กันว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเครื่องแม่ข่ายนั้นเอง
![]() |
ภาพมินิคอมพิวเตอร์ |
4. คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกนำมาใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี (Personal Computer : PC), คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) ,คอมพิวเตอร์แบบรองรับระบบสัมผัสลงบนหน้าจอ (Tablet PC) , คอมพิวเตอร์แบบพกติดกระเป๋า (Smart Phone) และอื่นๆ
|
ภาพไมโครคอมพิวเตอร์
|